วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562


อุทกภัย





คลิปอุทกภัย
ที่มา : https://youtu.be/1jQqln7-zlI


อุทกภัย




 อุทกภัย 

คือ ภัยและอันตรายที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่นๆ  โดยปกติอุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม 



สาเหตุของอุทกภัยในประเทศไทย
อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน  ดังนี้

1.      ฝนตกหนัก
การที่ฝนตกหนักเป็นเวลานานหลายชั่วโมง  ย่อมทำให้จำนวนน้ำมีมาก  จนไม่สามารถระบายลงสู่แม่น้ำลำคลองได้ทัน  น้ำจึงไหลบ่าลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว  ซึ่งพบมากในบริเวณที่ราบสูง  เชิงเขาใกล้ต้นน้ำลำธาร   และบริเวณที่การตัดไม้ทำลายป่าบริเวณต้นน้ำ


2.    ลมมรสุม
อุทกภัยอาจเกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ


3.    พายุหมุนเขตร้อน
ซึ่งได้แก่ พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน และพายุใต้ฝุ่น ซึ่งทำให้ฝนตกเป็นเวลานาน ติดต่อกัน  ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมได้

4.    น้ำทะเลหนุน
ปรากฎการณ์ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่แนวเดียวกันและรวมกำลังกัน  จะทำให้เกิดแรงดึงดูดต่อน้ำในมหาสมุทร ทำให้เกิดภาวะน้ำขึ้นสูงสุดมากกว่าระยะอื่น ที่เรียกว่า ระยะน้ำเกิด  ซึ่งมักปรากฏในเวลาวันข้างขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 1-2 ค่ำ


5.    สาเหตุอื่นๆ
เช่นแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด ทำให้เปลือกของผิวโลกได้รับความกระทบกระเทือน บางส่วนของผิวจะสูงขึ้น บางส่วนจะยุบลง โดยเฉพาะเมื่อภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด จะทำให้เกิดคลื่นใหญ่ในมหาสมุทร เกิดภาวะน้ำท่วมตามหมู่เกาะ หรือเมืองชายทะเล นอกจากนั้นการที่แผ่นดินทรุด  ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมได้ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร และอาจทำให้เขื่อนพัง ซึ่งก็สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมได้ และการที่หิมะละลายตัว กลายเป็นน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดน้ำท่วมได้อย่างฉับพลัน  ซึ่งพบในประเทศที่มีอากาศหนาว


ลักษณะของอุทกภัยเกิดได้อย่างไรบ้าง

        
          ลักษณะของอุทกภัยมีความรุนแรง และรูปแบบต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่โดยมีลักษณะดังนี้

          2.1 น้ำป่าไหลหลาก หรือน้ำท่วมฉับพลัน มักจะเกิดขึ้นในที่ราบต่ำหรือที่ราบลุ่มบริเวณใกล้ภูเขาต้นน้ำ เกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนักเหนือภูเขาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้จำนวนน้ำสะสมมีปริมาณมากจนพื้นดิน และต้นไม้ดูดซับไม่ไหวไหลบ่าลงสู่ที่ราบต่ำ เบื้องล่างอย่างรวดเร็ว มีอำนาจทำลายร้างรุนแรงระดับหนึ่ง ที่ทำให้บ้านเรือนพังทลายเสียหาย และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้



 2.2 น้ำท่วม หรือน้ำท่วมขัง เป็นลักษณะของอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมาก ที่ไหลบ่าในแนวระนาบ จากที่สูงไปยังที่ต่ำเข้าท่วมอาคารบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาได้รับความเสียหาย หรือเป็นสภาพน้ำท่วมขัง ในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝนตกหนัก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำ หรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูงกรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล



         2.3 น้ำล้นตลิ่ง เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำจำนวนมากที่เกิดจากฝนหนักต่อเนื่อง ที่ไหลลงสู่ลำน้ำ หรือแม่น้ำมีปริมาณมากจนระบายลงสู่ลุ่มน้ำด้านล่าง หรือออกสู่ปากน้ำไม่ทัน ทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมเรือกสวน ไร่นา และบ้านเรือนตามสองฝั่งน้ำ จนได้รับความเสียหาย ถนน หรือสะพานอาจชำรุด ทางคมนาคมถูกตัดขาดได้



เมื่อเกิดอุทกภัยอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง

          สามารถแบ่งอันตรายและความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยดังนี้
ความเสียหายโดยตรง
          3.1 น้ำท่วมอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างและสาธารณสถาน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก บ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงจะถูกกระแสน้ำที่ไกลเชี่ยวพังทลายได้ คนและสัตว์พาหนะและสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตจากการจมน้ำตาย
          3.2 เส้นทางคมนาคมและการขนส่ง อาจจะถูกตัดเป็นช่วง ๆ โดยความแรงของกระแสน้ำ ถนน และสะพานอาจจะถูกกระแสน้ำพัดให้พังทลายได้ สินค้าพัสดุอยู่ระหว่างการขนส่งจะได้รับความเสียหายมาก
          3.3 ระบบสาธารณูปโภค จะได้รับความเสียหาย เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ไฟฟ้า และประปา ฯลฯ
          3.4 พื้นที่การเกษตรและการปศุสัตว์จะได้รับความเสียหาย เช่น พืชผล ไร่นา ทุกประการที่กำลังผลิดอกออกผล อาจถูกน้ำท่วมตายได้ สัตว์พาหนะ วัว ควาย สัตว์เลี้ยง ตลอดจนผลผลิตที่เก็บกักตุน หรือมีไว้เพื่อทำพันธุ์จะได้รับความเสียหาย
          ความเสียหายทางอ้อม จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยทั่วไป เกิดโรคระบาด สุขภาพจิตเสื่อม และสูญเสียความปลอดภัยเป็นต้น