สาเหตุของอุทกภัยในประเทศไทย
อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้
1.
ฝนตกหนัก
การที่ฝนตกหนักเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ย่อมทำให้จำนวนน้ำมีมาก จนไม่สามารถระบายลงสู่แม่น้ำลำคลองได้ทัน น้ำจึงไหลบ่าลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว
ซึ่งพบมากในบริเวณที่ราบสูง เชิงเขาใกล้ต้นน้ำลำธาร
และบริเวณที่การตัดไม้ทำลายป่าบริเวณต้นน้ำ
2.
ลมมรสุม
อุทกภัยอาจเกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
3.
พายุหมุนเขตร้อน
ซึ่งได้แก่
พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน และพายุใต้ฝุ่น ซึ่งทำให้ฝนตกเป็นเวลานาน ติดต่อกัน ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมได้
4.
น้ำทะเลหนุน
ปรากฎการณ์ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่แนวเดียวกันและรวมกำลังกัน จะทำให้เกิดแรงดึงดูดต่อน้ำในมหาสมุทร
ทำให้เกิดภาวะน้ำขึ้นสูงสุดมากกว่าระยะอื่น ที่เรียกว่า ระยะน้ำเกิด ซึ่งมักปรากฏในเวลาวันข้างขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 1-2
ค่ำ
5.
สาเหตุอื่นๆ
เช่นแผ่นดินไหว
หรือภูเขาไฟระเบิด ทำให้เปลือกของผิวโลกได้รับความกระทบกระเทือน
บางส่วนของผิวจะสูงขึ้น บางส่วนจะยุบลง โดยเฉพาะเมื่อภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด
จะทำให้เกิดคลื่นใหญ่ในมหาสมุทร เกิดภาวะน้ำท่วมตามหมู่เกาะ หรือเมืองชายทะเล
นอกจากนั้นการที่แผ่นดินทรุด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมได้ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร
และอาจทำให้เขื่อนพัง ซึ่งก็สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมได้
และการที่หิมะละลายตัว กลายเป็นน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว
ทำให้เกิดน้ำท่วมได้อย่างฉับพลัน ซึ่งพบในประเทศที่มีอากาศหนาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น